Google
 

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551

ข้อมูลโดยสรุปของโครงการ เสนอต่อโครงการตลาดประกอบฝันปีที่4

โครงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ฉบับนักศึกษา


โดยทีมเครือข่ายนักศึกษาพัฒนาสังคม


ที่มาและหลักการ
การพัฒนาของไทยในอดีตหน่วยงานที่รับหน้าที่นี้ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน มักสร้างปัญหาตามมาด้วยไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดมาจากวิธีการพัฒนาของหน่วยงานดังกล่าวมักเป็นแบบสั่งการหรือจากบนลงล่าง(Top Down) ขาดการมีส่วนร่วม เอาตัวโครงการเป็นตัวตั้งมากกว่าความต้องการของคนในพื้นที่จึงนำไปสู่ความขัดแย้งและบานปลายสู่ความรุนแรงตามมา โดยนอกจากหน่วยงานดังกล่าวนักศึกษาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาก็มีส่วนที่มีบทบาทต่อประเด็นเหล่านี้ผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ แต่ส่วนใหญ่มักจับเพียงประเด็นที่สนใจเช่น กลุ่มศึกษาเรื่องสลัมก็สนใจเรื่องสลัม กลุ่มศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมก็มองเรื่องสิ่แวดล้อม เป็นต้น ทำให้ขาดพลังการแก้ปัญหาในเชิงนโยบายและการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม เพื่อเป็นการนำไปสู่ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนกิจกรรมสำหรับแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมดังกล่าวเราในฐานะเครือข่ายที่มีการส่งผ่านข้อมูลบอกเล่าเรื่องราวและตอบปัญหาสังคมต่างๆซึ่งกันและกันอยู่จึงมีแนวคิดร่วมกันว่าควรจัดกิจกรรมพัฒนาหรือเพิ่มเติมศักยภาพทางด้านความรู้ที่เป็นองค์รวมในการมองปัญหาสังคมอันจะนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ฉบับนักศึกษา เพื่อเป็นทางเลือกและการทบทวนบทบาททั้งตัวนักศึกษาและทิศทางการพัฒนาประเทศภายใต้ภาวะที่อนาคตจะต้องเผชิญกับความท้าทายจากบริบทการพัฒนาของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
โครงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ฉบับนักศึกษานี้เป็นรูปแบบของการทดลองทำกิจกรรมแบบใหม่ๆในงานด้านวิชาการ การบริหารการพัฒนาทั้งในแง่เนื้อหาที่เป็นการพยายามในนักศึกษาคิดและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบายและเป็นระบบเชื่อมโยงกันแบบองค์รวมมากขึ้น และในแง่กระบวนการที่จากเดิมกิจกรรมทางวิชาการมักจำกัดอยู่เพียงในห้องสัมนา ห้องประชุมหรือเวทีเสวนา แต่การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ฉบับนักศึกษานี้ใช้รูปแบบของการทัศนาจรผสานไปกับการสรุปประเด็นปัญหาจากไกด์ที่เป็นนักวิชาการ นักกิจกรรมไปตามพื้นที่ปัญหาที่จะทำให้เห็นถึงทิศทางในแบบองค์รวม ทั้งในมิติด้านประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมือง เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและทิศทางการพัฒนาโดยนักศึกษา

วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ร่วมโครงการ
2 เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการได้รับความรู้ที่ใหม่ๆและหลากหลายเพิ่มขึ้น
3 เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการมีกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวมเพิ่มขึ้น
4 เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในหมู่ผู้ร่วมโครงการซึ่งเป็นนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มขึ้น
5 เพื่อให้ได้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ฉบับนักศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม

กิจกรรมหลัก
การทัศนาจรลงพื้นที่ปัญหา 3 พื้นที่และดำเนินการสัมนาเชิงปฏิบัติการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองฉบับนักศึกษา การจัดสัมนาวิจารย์แผนพัฒน์ ฉบับนักศึกษา การบรรณาธิการแผนและบทความขยาย การจัดพิมพ์แผน บทความขยายพร้อมข้อวิจารย์ และการเผยแพร่

นวัตกรรม
นอกจากการสร้างเครือข่ายของนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมขึ้นทั้งระหว่างสถาบันและระหว่างกรณีปัญหาแล้ว ที่สำคัญคือการทำให้กลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายโครงการเหล่านี้มองปัญหาสังคมอย่างเป็นระบบมากขึ้น จากแต่เดิมที่แยกศึกษาและแก้ไขไปตามเรื่องที่ตนเองสนใจ รวมทั้งความเป็นเครือข่ายที่หลากหลายและการมองปัญหาที่เป็นระบบที่จะเกิดขึ้น เหล่านี้จะนำไปสู่พลังในการขับเคลื่อนเพื่อการแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบายมากกว่าเป็นเพียงกลุ่มศึกษา กลุ่มกดดันหรือกลุ่มผลประโยชน์ ผ่านจุดเริ่มต้นที่เป็นรูปธรรมคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ฉบับนักศึกษา

แผนการดำเนินงาน
แผนภูมิแท่งหรือแกนท์ของโครงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ฉบับนักศึกษา




งบประมาณรวม 282,500 บาท

ผลกระทบต่อสังคม1.นักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมได้ทิศทางและแนวทางการแก้ปัญหาสังคมใหม่ๆที่เป็นระบบคือมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับปัญหาอื่นๆมากขึ้น
2.เกิดเครือข่ายสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้นอันจะนำปสู่ความสามารถและพลังในการแก้ไขปัญหาของนักศึกษาเหล่านั้น
3.สังคมได้ทางเลือกในการแก้ใขปัญหาและการพัฒนาเพิ่มขึ้น
4.เกิดการวิภาคษ์วิจารย์ในสังคมต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ฉบับนักศึกษาและบทบาทของนักศึกษา นักศึกษามีความตระหนักและมั่นใจในพลังของตนเองต่อการแก้ปัญหามากขึ้น

ความยั่งยืน
ทั้งนี้จากตัวโครงการที่มีลักษณะเฉพาะกิจอาจไม่ยังยืนในเรื่องของตัวโครงการ แต่ตัวผลลัพธ์จากเวทีความคิดจะส่งผลต่อคนที่จะไปทำงานของกลุ่ม เครือข่ายหรือตนเองในอนาคต จากความรู้ ระบบคิด ความเชื่อมั่น ความมั่นใจของนักกิจกรรมและเครือที่เกิดขึ้น ทำให้หลังจากทำกิจกรรมครั้งนี้จึงย่อมส่งผลต่อทิศทางการทำงานเพื่อสังคมในอนาคตต่อไปและด้วยความที่ตัวโครงการมีลักษณะเป็นโครงการนำร่องดังนั้นจึงมีความมุ่งหวังที่จะก็ให้เกิดการขยายผลต่อทั้งในส่วนของนักศึกษาและภาคส่วนต่างๆในสังคม ซึ่งอาจส่งผลในเกิดแรงกระตุ้นให้กลุ่มอื่นๆในสังคมจัดทำแผนในลักษณะดังกล่าวของแต่ละกลุ่มและอาจนำไปสู่การจัทำแผนพัฒนาประเทศของนักศึกษาที่ขยายผลจาบทเรียนของโครงการนี้ในวาระต่อไปจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติ
บวกกับตัวแผนพัฒน์ฯที่ถูกเผยแพร่ไปย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมโดยกว้างทั้งตัวเนื้อหาของแผนที่ถือเป็นขอเสนอและทางเลือกหนึ่งของทิศทางการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ ยังรวมถึงบทบาทของนักศึกษาอันจะนำไปสู่การวิภาคษ์วิจารย์ ทำให้สังคมทั้งนักศึกษาและภาคส่วนอื่นๆหันมาทบทวนตนเองถึงบาบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศและการแก้ปัญหารวมถึงการทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป